โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มักเติบโตในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ท่อปัสสาวะ ทวาร ปาก และลำคอ
โรคหนองในสามารถแพร่เชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวาร หรือปาก เชื้อสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์และอวัยวะอื่นๆ ที่สัมผัสกับเชื้อโดยตรง
โรคนี้เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย และหากไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงในระยะยาว
หนองในมี 2 ประเภท ได้แก่ หนองในแท้ หรือโกโนเรีย (Gonorrhoea) และหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NSU) หลายคนอาจจะสับสนระหว่างหนองในแท้และหนองในเทียม เราจึงควรทำความเข้าใจคร่าว ๆ กันก่อน อันดับแรก หนองในแท้นั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria gonorrhoeae) ส่วนหนองในเทียม คือการอักเสบของท่อปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แบคทีเรียตัวเดียวกับหนองในแท้ เพราะหนองในทั้ง 2 ประเภทเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ยารักษาหนองในชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ตามประเภทของโรคหนองในเหล่านี้นี่เองว่ามีอะไรบ้าง
1.โรคหนองใน แนะนำให้กินยา วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น นาน 10 วัน เพื่อเป็นการรักษาที่ต่อเนื่อง
2.ถ้าอาการยังไม่หายภายใน 2 อาทิตย์ สามารถปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนยารักษาหนองใน อาจต้องกินยาตัวเดิมนานขึ้นหรือกินยาหลาย ๆ ตัวพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์
3.ในปัจุบันคนที่ป่วยโรคหนองในแท้กว่า 20% จะเป็นโรคหนองในเทียมร่วมด้วย สองโรคนี้จึงมีโอกาสเกิดพร้อมกันได้ ต้องใช้ทั้งยารักษาหนองในแท้ และ ยารักษาหนองในเทียม ร่วมกัน
วิธีรักษาหนองใน และ ลดความเสี่ยงการติดโรคหนองใน
การป้องกันโรคหนองในและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อสามารถทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพทางเพศอย่างเหมาะสม ดังนี้:
1.ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโรคหนองใน รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ควรใช้ถุงยางอนามัยใหม่ทุกครั้งและใช้อย่างถูกวิธี
2.ตรวจสุขภาพทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำการตรวจสุขภาพช่วยให้สามารถตรวจพบเชื้อในระยะแรกเริ่ม แม้ไม่มีอาการ ทำให้การรักษาทำได้ทันเวลาและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ
3.หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนการมีคู่นอนหลายคนเพิ่มความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อ การรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับคู่นอนที่ปลอดภัยจะช่วยลดความเสี่ยงนี้
4.สื่อสารกับคู่นอนเกี่ยวกับประวัติสุขภาพทางเพศการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ และการตรวจร่วมกันจะช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของทั้งสองฝ่าย
5.หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดและการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากสารเสพติดและแอลกอฮอล์อาจลดการตัดสินใจในการป้องกันตัวเองระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ