หูดหงอนไก่
ตาปลา หูดข้าวสุก หูด
หากท่านกำลังมีปัญหาหูดหงอนไก่รบกวน
หมดกังวลด้วย ยารักษาหูดหงอนไก่
กรรมวิธีรักษาหูดหงอนไก่ง่ายๆให้หายขาด
.
.
.
.
.
ปรึกษาเรื่องหูดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

โรคหูด สามารถแบ่งหัวข้อที่ควรทราบที่สำคัญได้แก่
1.หูด คืออะไร
2.วิธีรักษาหูด
3.ยารักษาหูด
4.หูดหงอนไก่
5.วิธีรักษาหูดหงอนไก่
6.ยารักษาหูดหงอนไก่
7.ตาปลา
8.วิธีรักษาตาปลา
9.ยารักษาตาปลา
10.หูดข้าวสุก
11.ยารักษาหูดข้าวสุก
12.วิธีรักษาหูดข้าวสุก

หูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดที่ทำให้เกิดหูด หรือติ่งเนื้อขรุขระคล้ายหงอนไก่ขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ หรือทวารหนัก ทำให้รู้สึกคัน

บริเวณที่มักพบหูดหงอนไก่
1.เยื่อบุผิวหนังอวัยวะเพศชาย หรืออวัยวะเพศหญิง
2.ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต หนังหุ้มองคชาต หนังหุ้มอัณฑะ
3.ปาก ริมฝีปาก คอหอย
4.ปากมดลูก ภายในช่องคลอด
5.ท่อปัสสาวะ
6.รอบทวารหนัก ฝีเย็บ
7.ขาหนีบ
8.ลำไส้ตรง หรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
9.รอบปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด

หูดหงอนไก่ ติดต่อได้อย่างไร
1.การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะเพศชาย-ช่องคลอด อวัยวะเพศชาย-ทวารหนัก และทางช่องคลอด-ช่องคลอด
2.การสัมผัสกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีเชื้อ HPV เช่น ปาก มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ลิปสติก ผ้าเช็ดตัว สบู่ มีดโกน หรือ อุปกรณ์ของเล่นสำหรับมีเพศสัมพันธ์ (Sex toy)
3.การทำออรัลเซ็กส์ (Oral sex) ให้กับผู้ที่มีเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 6 และ 11
4.การรับการทำออรัลเซ็กส์ จากผู้ที่มีเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 6 และ 11 ที่อวัยวะเพศ ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น
5.การสัมผัสแบบแนบชิด เนื้อแนบเนื้อ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากการหลั่ง
6.ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อ โรคเบาหวานที่คุมไม่ได้ (Brittle diabetes) หรือการทานยากดภูมิคุ้มกัน
7.เป็นเริม หรือเคยเป็นเริมมาก่อน การติดเชื้อจากแม่ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่สู่ลูกผ่านการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ

วิธีรักษาหูดหงอนไก่
1.การรักษาโดยการทายาหูดหงอนไก่
2.การผ่าตัดชิ้นเนื้อออก (Surgical excision) จะพิจารณาทำการรักษาโดยการผ่าตัด โดยเฉพาะหูดหงอนไก่ที่มีขนาดใหญ่ หรือในผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ หรือคุณแม่ที่เป็นหูดหงอนไก่ที่กำลังจะคลอดบุตร แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
3.การจี้ร้อนด้วยไฟฟ้า (Electrocautery) เป็นการรักษาด้วยการจี้หูดด้วยความร้อนสูง เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่เติบโตผิดปกติ
4.การจี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (Liquid nitrogen cryotherapy) เพื่อยับยั้งการเติบโตของหูด ช่วยให้ผิวฟื้นตัว และให้รอยโรคหลุดไป การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser treatments) โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการนี้กับหูดหงอนไก่ที่มีลักษณะขึ้นเป็นวงกว้างและรักษาได้ยาก

ยารักษาหูดหงอนไก่
1.ยารักษาหูดหงอนไก่โพโดฟิลอก 5% (0.5% Podofilox) หรือ สารละลายกรดไตรคลอโรอะเซติกเข้มข้น 80-90 % (80-90 % Trichloroacetic acid) ทั้งนี้เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ดี ให้ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนทายา เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณที่ทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง

โรคหูด
หูด ที่พบได้บ่อย คือ หูดธรรมดา หรือหูดที่พบได้บ่อย (verruca vulgaris) คือ ตุ่มนูนผิวขรุขระและมีจุดเล็กสีดําในเนื้อหูด เกิดขึ้นได้ในร่างกายทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักขึ้นที่มือและนิ้วมือ สาเหตุหลักของหูดคือการสัมผัสกับเชื้อไวรัส HPV ซึ่งอาจใช้เวลาเพาะเชื้อถึง 6 เดือนกว่าที่จะแสดงอาการ โดยปกติแล้วหูดธรรมดานั้นไม่อันตรายแต่อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้หากไม่รักษา และติดต่อได้ผ่านการสัมผัส

อาการโรคหูด
มีตุ่มผิวขรุขระขนาดเล็กพร้อมจุดสีดำหรือน้ำตาลซึ่งเกิดจากการที่เส้นเลือดขนาดเล็กในผิวหนังอุดตัน บนมือหรือนิ้วมือ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นหูด
1.อายุ: เด็กเล็กมีแนวโน้มที่จะเกิดหูดธรรมดาเนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่
2.ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง: ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ หรือรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

วิธีรักษาหูด
การรักษาที่เหมาะสมสามารถกําจัดหูดและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเพื่อไปต่อสู้กับเชื้อไวรัส วิธีการรักษาที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับตําแหน่งและจำนวนของหูด อาการและความต้องการของผู้เข้ารับการรักษา
1.การลอกชั้นผิวด้วยกรดซาลิไซลิกและกรดอื่น ๆด้วยยาทาหูด : กรดซาลิไซลิกจะค่อยสลายชั้นผิว อาจทำให้รู้สึกแสบร้อน ผู้เข้ารับการรักษาต้องรับการรักษาทุกสัปดาห์ วิธีการรักษานี้ได้ผลดีเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาด้วยความเย็น
2.การรักษาด้วยความเย็น: จะทาไนโตรเจนเหลวบนหูด ทำให้เกิดความเย็นจัดบริเวณใต้และรอบหูด จนผิวหนังตายหลุดลอกออก การรักษาด้วยความเย็นยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส HPV วิธีนี้เจ็บและอาจทำให้สีผิวเปลี่ยน จึงไม่แนะนําให้ใช้ในเด็กเล็ก
3.การผ่าตัด: เป็นการตัดหูดออก แต่อาจทําให้เกิดแผลเป็นได้ ใช้ในกรณีที่หูดมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้
4.การจี้ด้วยไฟฟ้า: เนื้อเยื่อที่ถูกจี้จะตายและลอกออก แต่วิธีนี้อาจทำให้รู้สึกเจ็บและทิ้งรอยแผลเป็นได้ รวมถึงต้องดูแลแผลหลังจี้ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานกว่าจี้ด้วยความเย็น

ยารักษาหูด
1.กรดซาลิไซลิกและกรดอื่น ๆ : กรดซาลิไซลิกจะค่อยสลายชั้นผิว อาจทำให้รู้สึกแสบร้อน ผู้เข้ารับการรักษาใช้ยาทาหูดเพื่อรับการรักษาทุกสัปดาห์
2.ผลิตภัณฑ์Pcon ของทางเวปไซต์ ที่สามารถรักษาหูดได้โดยตรง เป็นยาทาหูดโดยตรง

ตาปลา
ลักษณะ ตาปลาเป็นโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มหนา แข็ง กดแล้วเจ็บ ผิวหนังตรงกลางตาปลาจะมีสีเทา และผิวหนังรอบ ๆ เป็นสีเหลือง ส่วนใหญ่แล้วตาปลาจะพบได้บ่อยบริเวณนิ้วเท้าและฝ่าเท้า

สาเหตุ
1.ตาปลาบริเวณมือและเท้านั้น เกิดจากการที่ผิวหนังมีการเสียดสีบ่อย ๆ หรือมีการกดทับ เช่น เท้าเสียดสีกับรองเท้า จนทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวมีความหนาและด้านขึ้น เป็นต้น

วิธีรักษาตาปลา
1.วิธีรักษาตาปลาที่เราสามารถทำได้เอง คือ การใช้ยารักษาตาปลา แบบทา
2.การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อนำรากตาปลาที่ฝังอยู่ในผิวหนังออก

ยารักษาตาปลา
1.ใช้ยารักษาตาปลาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก ซึ่งอยู่ในรูปแบบแผ่นแปะหรือรูปแบบยารักษาตาปลา แบบทาโดยใช้ยานี้บริเวณที่เป็นตาปลาแต้มจนหลุด

หูดข้าวสุก
หูดข้าวสุก คือการติดเชื้อทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสมอลลัสคุม คอนทาจิโอซุม ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงทางผิวหนังหรือการรับเชื้อจากสิ่งของที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส

อาการหูดข้าวสุก
1.ผู้ป่วยจะพบตุ่มเนื้อเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง

ลักษณะ
1.เป็นตุ่มทรงโดมขนาดเล็กที่มีรอยบุ๋มตรงกลาง เป็นตุ่มสีเดียวกับผิวหรือสีขาว มักจะไม่เจ็บและไม่มีอาการคันบริเวณตุ่ม

วิธีรักษาหูดข้าวสุก
เมื่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติเป็นหูดข้าวสุก จะแนะนำให้มีวิธีรักษาหูดข้าวสุกให้หายทิ้งในกรณีที่ผู้ติดเชื้ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์และเป็นหูดบริเวณอวัยวะเพศ การรักษาหูดบริเวณนี้ออกจะเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
วิธีรักษาหูดข้าวสุก ตัวอย่างเช่น
1.การจี้ทำลายโรคด้วยความเย็น (Cryotherapy)
2.การขูดเพื่อเอาหูดข้าวสุกออก (Curettage)

ยารักษาหูดข้าวสุก
1.การใช้ยาทาหูดที่มีฤทธิ์เป็นกรดเช่น Salicylic acid หรือ Pcon serum ในการเป็นยาทาหูด ให้หาย