เล็บเป็นเชื้อรา

  เล็บเป็นเชื้อราหรือเชื้อราที่เล็บ(Onychomycosis)คือการติดเชื้อราในกลุ่ม เชื้อกลากแท้ กลากเทียม หรือยีสต์ ที่บริเวณเล็บ สามารถเกิดได้กับทุกคนทุกวัย แต่จะเกิดได้กับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ที่จะมีโอกาศเป็นโรคนี้

เชื้อราที่เล็บ

      ในระยะแรก เล็บเป็นเชื้อราอาจไม่สามารถสังเกตได้ถึงอาการป่วยหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเล็บ ทั้งนี้ ความผิดปกติจะเริ่มแสดงออกมาเมื่อเชื้อราเริ่มขยายตัว โดยเกิดจากขอบเล็บแล้วค่อย ๆ ขยายไปยังกลางเล็บ ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่เล็บมือหรือเล็บเท้า และมักมีเล็บที่ติดเชื้อราประมาณ 1-3 เล็บ โดยผู้ป่วยเล็บเป็นเชื้อรามักจะมีอาการดังนี้

   1. เล็บเปลี่ยนสี เล็บของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว

   2. เล็บหนาขึ้นหรือผิดรูป เล็บของผู้ป่วยอาจมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งทำให้ยากต่อการตัดแต่ง

   3. มีอาการเจ็บที่เล็บ โดยเฉพาะเมื่อกดลงไปแรง ๆ บริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา

   4. เล็บเปราะ เล็บที่ติดเชื้อราจะเปราะและแตกหักง่าย

   5. คันผิวหนังบริเวณเล็บ ในบางครั้ง ผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อราอาจเกิดอาการคัน บวม หรือแด

 วิธีรักษาเชื้อราที่เล็บ

โดยทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บหรือ เล็บเป็นเชื้อรา ได้จากการลดปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดเชื้อราที่เล็บ ได้แก่

   1. รักษามือและเท้าให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการทำให้อับชื้น

   2. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าในสถานที่สาธารณะบนพื้นที่ชื้นหรือมีน้ำขัง เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

   3. สวมใส่รองเท้าที่ไม่คับจนเกินไปและไม่ใส่รองเท้าที่อาจมีการสะสมของเชื้อรา

   4. สวมรองเท้าและถุงเท้าจากวัสดุธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้ระบายอากาศบริเวณเท้าได้ดีขึ้น

   5. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น

   6. ใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าที่สะอาด หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าร่วมกับผู้อื่น

   7. หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา และป้องกันเล็บเป็นเชื้อราลุกลาม

สาเหตุของเล็บเป็นเชื้อรา

ล็บเป็นเชื้อรามีโอกาสเกิดกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย โดยมีปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเชื้อราที่เล็บได้ ดังนี้

   1. ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

   2. สวมรองเท้าที่คับหรืออับชื้น

   3. มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ เล็บนิ้วเท้า

   4. ล้างมือบ่อย หรือต้องทำงานที่ทำให้มือชื้นตลอดเวลา เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาด เป็นต้น

   5. เชื้อราในเล็บเท้าอาจติดต่อไปยังเล็บมือได้ หากผู้ป่วยใช้มือเกาหรือสัมผัสกับเท้าบริเวณที่เป็นโรค

   6. เป็นโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งเกิดจากเชื้อราบนผิวหนังบริเวณนิ้วเท้า โดยเชื้อราอาจลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้าได้ หากผู้ป่วยไม่ได้รักษาโรคน้ำกัดเท้าอย่างทันท่วงที

   7. เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

   8. มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

   9. สูบบุหรี่

เซตยารักษาเชื้อราที่เล็บ