เชื้อราบนหนังศรีษะ

เชื้อราบนหนังศรีษะ

ชื้อราบนหนังศีรษะถึงจะมีลักษณะที่คล้ายกับรังแค แต่ว่ามีอาการที่รุนแรงกว่า ซึ่งลักษณะของอาการจะแตกต่างกัน ดังนี้

  1. อาการเชื้อราบนหนังศีรษะจากกลาก ได้แก่ ผิวหนังตกสะเก็ดสีเทาหรือแดงเป็นหย่อม ๆ ผมเปราะบาง หลุดร่วงง่าย เจ็บปวดบริเวณที่เป็นเชื้อรา
  2. อาการเชื้อราบนหนังศีรษะจากการติดเชื้อรา ได้แก่ แผลพุพองที่ผิวหนัง ผิวแดง เจ็บปวด รู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง
  3. อาการเชื้อราบนหนังศีรษะจากโรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม ได้แก่ สะเก็ดที่ผิวหนัง รอยแดงบนผิวหนัง อาการคัน
  4. อาการเชื้อราบนหนังศีรษะจากโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ ผิวหนังตกสะเก็ดสีเงินหรือแดง เป็นหย่อม ๆ หนังศีรษะแห้ง อาการคัน แสบร้อน ผมร่วง
สาเหตุเชื้อราบนหนังศรีษะ

สาเหตุของเชื้อราบนหนังศีรษะเกิดจากได้จากทั้งกรรมพันธุ์ เพศ อายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่นการรับประทานอาหาร ความเครียด ส่งผลให้หนังศีรษะแห้ง การใช้สารเคมีรุนแรงกับเส้นผม เช่น การดัดผม ยืดผม ทำสีผม การใช้สเปรย์ฉีดผม หรือใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของสารเคมีรุนแรงก็ทำให้เกิดรังแคได้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เป็นรังแคมีสาเหตุมาจากโรคหนังศีรษะต่างๆ ได้แก่

  1. โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะที่ผิวหนังเกิดการอักเสบ มัน แดง เป็นสะเก็ด มักพบบริเวณที่มีต่อมน้ำมัน เช่น หนังศีรษะ คิ้ว และบริเวณข้างจมูก เป็นต้น
  2. เชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนหนังศีรษะ ซึ่งหากมีเชื้อราชนิดนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดการเร่งผลัดเซลล์ผิวเร็วกว่าปกติ จึงเกิดเป็นขุยขาวสะสมอยู่บริเวณหนังศีรษะและเส้นผมเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เชื้อรามาลาสซีเซียเพิ่มขึ้นก็คือ ฮอร์โมนและความเครียด
  3. เชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) เป็นภาวะที่เชื้อรากระจายตัวลึกลงไปยังรูขุมขน ส่งผลให้เกิดอาการคันและผมร่วงเป็นหย่อมๆ
  4. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) มีลักษณะคล้ายกับรังแคแต่มีความรุนแรงมากกว่า คนที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจะมีอาการคันและผิวหนังตกสะเก็ด เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ทำได้เพียงเยียวยาไม่ให้อาการหนักมากกว่าเดิม
  5. ภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) เกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดอาการคัน แดง ผิวแห้ง ตกสะเก็ด
  6. ผิวหนังอักเสบจากการแพ้ เช่น แพ้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม สเปรย์ เจล หรือมูสแต่งผม หนังศีรษะแห้งเกินไป เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีเกล็ดผิวหนังคล้ายรังแค แต่มีขนาดเล็กและความมันน้อยกว่า ไม่ทำให้เกิดอาการแดงหรืออักเสบ

พฤติกรรมเสี่ยงเชื้อราบนหนังศรีษ

  1. การติดต่อด้วยการสัมผัสผิวหนัง สิ่งของ หรือสัตว์
  2. พฤติกรรมจากความเครียด รวมถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
  3. พฤติกรรมจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคหัวใจ ยารักษาโรคมาลาเรีย
  4. พฤติกรรมที่เกิดจากภาวะทางระบบประสาทและจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน
  5. อาการระคายเคืองจากการกำจัดขนด้วยมีดโกนหรือการถอน เป็นต้น
  6. การไม่ดูแลรักษาความสะอาดเส้นผม และหนังศีรษะให้ดี
  7. การอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น แออัด อาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อเนื่องจากต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตน้ำมันมากเกินไป

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ วิธีที่ดีที่สุดควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษา เนื่องจากสาเหตุของการเกิด และความรุนแรงอาจจะแตกต่างกัน โดยจะทำการวินิจฉัยถึงชนิดของเชื้อรา สาเหตุ และทำการรักษาตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่การให้รับประทานยา ใช้ทายาเพื่อรักษา นอกจากนี้หากไม่รุนแรงก็สามารถดูแลรักษาด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

1.รักษาความสะอาดเลี่ยงการใช้หมอนร่วมกับคนอื่น หมั่นเปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าเช็ดตัวบ่อย ๆ ทำความสะอาดแปรงและหวีที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อราซ้ำบนหนังศีรษะ

2.ทานแร่ธาตุและวิตามินช่วยรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะได้เป็นอย่างดี เช่น กรดโฟลิก วิตามินบีรวม และวิตามินอี ซึ่งได้แก่ ผักใบเขียว ถั่วชนิดต่าง ๆ ธัญพืช และเนื้อสัตว์

3.การหมักผม เช่น ใช้น้ำส้มสายชูหมักผมก่อนสระผมทุกครั้ง เชื้อราบนหนังศีรษะจะค่อยๆ ลดลง หมักผมด้วยมะกรูด หรือมะละกอ ก็สามารถช่วยลดอาการคันและลดเชื้อราบนหนังศีรษะได้

ยารักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ

สำหรับการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงเกิดปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะนั้น มีทั้งยารักษาเชื้อราบนหนังศรีษะและการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเชื้อราบนหนังศีรษะนั้น สามารทำได้ดังนี้

  1. อาบน้ำและสระผมให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อกำจัดเชื้อราหรือเชื้อก่อปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะ โดยแนะนำให้ใช้ แชมพูสูตรขจัดรังแค ขจัดความมัน สิ่งตกค้างที่หนังศีรษะ ลดการคัน ลดรังแคอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย ไพรอคโทนโอลามีน และคลิมบาโซล ช่วยลดรังแคที่ระดับหนังศีรษะ และ โพลิโดคานอล ลดปัญหาการคันและรังแคบนหนังศีรษะได้ตั้งแต่ต้นเหตุ เหมาะกับทุกสภาพหนังศีรษะ ฟื้นบำรุงให้เส้นผมและหนังศีรษะดูสุขภาพดี มีกลิ่นหอม พร้อมช่วยบำรุงเส้นผมนุ่มสลวย
  2. ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร ก่อนและหลังใช้ห้องน้ำ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อที่มือ
  3. กำจัดสะเก็ดบนหนังศีรษะและทำให้ผมนุ่ม โดยใช้น้ำมันมะกอกหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นหวีผมให้สะเก็ดหลุดออกแล้วสระผมให้สะอาด
  4. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อราจากผู้อื่น สิ่งของ และสัตว์ หากมีคนในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หรือสัตว์เป็นโรคผิวหนัง ควรเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังโดยตรง ควรทำความสะอาดสิ่งของอยู่เสมอเพื่อกำจัดเชื้อราที่อาจปนเปื้อน และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  5. ใช้ยารักษาหนังศรีษะโดยตรง เพื่อช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถปรึกษาทางเวปไซต์เราได้

 

 

ชันนะตุ

    ชันนะตุ (Tinea Capitis) โรคติดเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดอาการคันและผมร่วงเป็นหย่อมๆ เกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือน้ำมันจากรูขุมขนบนหนังศีรษะ หากสังเกตได้อย่างรวดเร็วก็สามารถทำการรักษาให้หายขาดและกลับมามีหนังศีรษะสุขภาพดีอย่างเดิมได้อย่างรวดเร็ว

อาการชันนะตุ

อาการของชันนะตุแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น

  • หัวล้านเป็นหย่อม ซึ่งมักเกิดร่วมกับการหลุดร่วง คล้ายกับรังแคแต่รุนแรงกว่า
  • มีจุดกลมบนหนังศีรษะ ตกสะเก็ดหรือผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง
  • มีอาการคันอย่างมาก และเมื่อเกาก็ทำให้เกิดการลุกลามของชันนะตุ
  • มีตุ่มหนองในบริเวณที่เป็นชันนะตุ จากการอักเสบของผิว

สาเหตุชันนะตุ

ชันนะตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อราที่เรียกว่า เดอมาโทไฟต์ (Dermatophytes) เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อุดมด้วยเคราติน เช่น เส้นผม เล็บ และผิวหนังชั้นนอก และแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นชันนะตุหรือโดยอ้อมผ่านการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี หมวก หมอน ที่สัมผัสกับหนังศีรษะที่ติดเชื้อ สามารถพบได้ทั่วไป มักจะพบได้ง่ายในเด็ก เนื่องจากการสัมผัสใกล้ชิดในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนและสนามเด็กเล่น

วิธีรักษาชันนะตุ

  ชันนะตุเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เนื่องจากเชื้อราที่เป็นต้นเหตุของชันนะตุสามารถพบเจอได้ง่าย การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในวิธีรักษาชันนะตุ

1.หลีกเลี่ยงและคอยระวังการติดเชื้อราจากผู้ที่มีอาการอยู่แล้ว หรือหลีกเลี่ยงสัตว์ต่างๆที่เราไม่แน่ใจในความสะอาด

2.หมั่นสระผมและทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำหรือไว้ผมสั้นเพื่อการรักษาความสะอาดได้ง่าย

3.หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น หวี ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า

4.หมั่นล้างมือให้สะอาดหลังการทำกิจกรรมต่างๆหรือสัมผัสสิ่งต่างๆในบริเวณที่คนเยอะ

5.ทำความสะอาดเครื่องนอนอย่าง หมอน ผ้าปูเตียง ผ้าคลุมเตียง ผ้าห่ม ให้บ่อยขึ้น

ยารักษาชันนะตุ

สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง จะมีการสั่งจ่ายยาปฎิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อราโดยเฉพาะ ระยะเวลาในการรักษาชันนะตุ อาจใช้เวลา 1 สัปดาห์ถึง 4 สัปดาห์ ขึ้นกับความรุนแรงของชันนะตุ และการใช้ยารักษาชันนะตุ สามารถปรึกษาเวปไซต์เราได้โดยตรง

หนังศรีษะเป็นแผล

หนังศีรษะเป็นแผล หมายถึง ผิวหนังบริเวณศีรษะที่ได้รับความเสียหาย เกิดเป็นรอยแตก รอยถลอก หรือแผลต่างๆ อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น อุบัติเหตุ การติดเชื้อ โรคผิวหนัง หรือแม้แต่การเกาหนังศีรษะแรงๆ

อาการของหนังศีรษะเป็นแผล ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของแผล อาจมีอาการดังนี้

  • รอยแดง
  • บวม
  • เจ็บ
  • คัน
  • มีเลือดไหล
  • มีหนอง
  • ผมร่วง

สาเหตุหนังศรีษะเป็นแผล

สาเหตุหนังศีรษะเป็นแผล มีดังนี้

  • อุบัติเหตุ: เช่น การถูกของแข็งกระแทกศีรษะ การหกล้ม การชนศีรษะ
  • การติดเชื้อ: เชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น เชื้อราบนหนังศีรษะ (tinea capitis) กลาก (impetigo) ฝีหนอง (carbuncle)
  • โรคผิวหนัง: เช่น สะเก็ดเงิน (psoriasis) กลากเรื้อรัง (eczema) โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (dermatitis)
  • การเกาหนังศีรษะแรงๆ: การเกาหนังศีรษะแรงๆ บ่อยๆ อาจทำให้เกิดรอยแผล
  • ปัจจัยอื่นๆ: เช่น การสัมผัสสารเคมี ความร้อน รังสียูวี ยาบางชนิด

รักษาหนังศีรษะเป็นแผล

การรักษาหนังศีรษะเป็นแผล ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของแผล โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของแผลก่อน

การรักษาเบื้องต้น:

  • รักษาความสะอาดบริเวณแผล ล้างด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อ
  • ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
  • หลีกเลี่ยงการเกาหรือสัมผัสแผล
  • ทานยาแก้ปวดหากจำเป็น

การรักษาเพิ่มเติม:

  • ยา: แพทย์อาจสั่งยาเฉพาะทาง เช่น ยาต้านเชื้อรา ยาต้านแบคทีเรีย ยาแก้แพ้ ยาครีมทาแผล
  • การรักษาด้วยแสงเลเซอร์: ใช้รักษาแผลเรื้อรังหรือแผลที่ดื้อต่อยา
  • การผ่าตัด: ใช้รักษาแผลขนาดใหญ่ แผลติดเชื้อรุนแรง หรือแผลที่อาจเกิดเป็นแผลเป็น

ยารักษาหนังศีรษะเป็นแผล

ารักษาหนังศีรษะเป็นแผล มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของแผล

  • ยาต้านเชื้อรา: ใช้รักษาแผลที่เกิดจากเชื้อรา เช่น แชมพูทายา ครีมทา ยาเม็ด
  • ยาต้านแบคทีเรีย: ใช้รักษาแผลที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น ครีมทา ยาเม็ด
  • ยาแก้แพ้: ใช้รักษาแผลที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง เช่น ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน ครีมทา
  • ยาครีมทาแผล: ใช้รักษาแผลทั่วไป ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ลดการอักเสบ